เมนู

ทั้งปวง. จริงอยู่ สุทธาวาสทั้งหลาย เป็นเหมือนกับค่าย ( ถิ่นที่ประทับ )
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เพราะว่าในอสงไขยกัปป์ ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้า
ไม่บังเกิด ที่นั้นย่อมว่างเปล่า เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่จัดไว้ ( ว่าเป็น
สัตตาวาส ) เพราะความที่ไม่เป็นไปในกาลทั้งปวง. คำที่เหลือในอรรถนี้
บัณฑิตพึงทราบดังต่อไปนี้ คำที่จะพึงกล่าวท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง
นั่นแล. พึงทราบวินิจฉัยในอขณะทั้งหลาย. หลายบทว่า ธมฺโม จ เทสิยติ
ความว่า สัจจธรรม 4 อันพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง. บทว่า
โอปสมิโถ ความว่า กระทำการเข้าไประงับกิเลส. บทว่า ปรินิพฺพานิโก
ความว่า นำมาซึ่งการดับรอบแห่งกิเลส. บทว่า สมฺโพธคามี ความว่า
ผู้แทงตลอดด้วยมรรคญาณ 4. บทว่า อญฺญตรํ ความว่า อสัญญภพ
หรือว่า อรูปภพ บทว่า อนุปุพฺพวิหารา ความว่า วิหารธรรมอันจะพึง
เข้าไปตามลำดับ. บทว่า อนุปุพฺพนิโรธา ความว่า ดับไปตามลำดับ คำว่า
อิเม โข อาวุโส เป็นต้น บัณฑิตพึงประกอบโดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล
พระเถระเมื่อกล่าวปัญหา 54 ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดเก้า 6 หมวด
แสดงสามัคคีรส แล้วด้วยประการฉะนี้ดังนี้แล
จบหมวด 9

ว่าด้วยธรรมหมวด 10



พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดเก้าด้วย
ประการฉะนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดสิบ
จึงปรารภพระธรรมเทศนาอีก.

บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า นาถกรณา ความว่า ธรรมอันกระทำ
ที่พึ่งแห่งตน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวก
เธอจงมีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าอยู่ไม่มีที่พึ่งเลย ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการ
เหล่านี้ เป็นธรรมที่กระทำที่พึ่ง. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กลฺยาณมิตฺโต
เป็นต้น. มิตรทั้งหลายของบุคคลนั้น ถึงพร้อมด้วยคุณมีศีลเป็นต้น คือ
เป็นคนดี เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า กัลยาณมิตร ( ผู้มีมิตรดี ).
อนึ่งมิตรเหล่านั้นของบุคคลนั้น ชื่อว่า หาย เพราะไปร่วมกันในอิริยาบถ
ทั้งหลายมีการยินและการนั่งเป็นต้น เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า
กัลยาณสหาย ( ผู้มีสหายดี ). ความเข้าพวกในกัลยาณมิตรนั่นแล น้อมไป
ทั้งจิตและกาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า กัลยาณสัมปวังกะ ( ผู้มีพวกดี ).
สองบทว่า สุพฺพโจ โหติ ความว่า เป็นผู้อันเขาพึงว่ากล่าวได้
โดยง่าย คืออันเขาพึงตามสอนได้โดยง่าย. บทว่า ขโม ความว่า ผู้ถูก
เขาว่า ด้วยถ้อยคำอันหนักคือ หยาบคาย ได้แก่แข็งกระด้าง ย่อมอดทนได้
คือไม่โกรธ. สองบทว่า ปทกฺขิณคฺคาหี อนุสาสนี ความว่า ผู้ไม่
กระทำเหมือนบุคคลบางคน พอถูกเขาโอวาทก็รับโดยเบื้องซ้าย แตกแยก
กันไป หรือไม่ฟังไปเสีย ย่อมรับเบื้องขวาด้วยกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอ
ท่านจงโอวาท จงตามสอนเถิด เมื่อท่านไม่โอวาท คนอื่นใครเล่า จัก
โอวาทดังนี้. บทว่า อุจฺจาวจานิ ความว่า สูงและต่ำ. บทว่า กึกรณียานิ
ความว่า การงานอันจะพึงกล่าวกระทำอย่างนี้ว่า กระผมจะทำอะไร. บรรดา
การงานเหล่านั้น การงานมีอาทิอย่างนี้ว่า การกระทำจีวร การย้อมจีวร

การทำความสะอาดที่พระเจดีย์ การงานอันจะพึงกระทำที่โรงอุโบสถ เรือน
พระเจดีย์ และเรือนโพธิ์ทั้งหลาย ชื่อว่า การงานสูง. การงานเล็กน้อย
มีการล้างเท้าและทาเท้าเป็นต้น ชื่อว่า การงานต่ำ. บทว่า ตตฺรูปายาย
ความว่า ควรเข้าไปในที่นั้น. สองบทว่า อลํ กาตุํ ความว่า เป็นผู้สามารถ
เพื่อจะทำ. สองบทว่า อลํ สํวิธาตุํ ความว่า ผู้สามารถเพื่อจะพิจารณา.
อธิบายว่า เป็นผู้ใคร่ที่จะแสดงแก่คนเหล่าอื่น. ความใคร่คือความรัก ใน
ธรรมของบุคคลนั้น มีอยู่ เหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ธัมมกาโม ( ผู้ใคร่
ในธรรม ). อธิบายว่า ย่อมประพฤติรักซึ่งพระพุทธวจนะ คือพระไตรปิฎก
บทว่า ปิยสมุทาหาโร ความว่า เมื่อบุคคลอื่นกล่าวอยู่ ย่อมฟังโดยเคารพ
และเป็นผู้ใคร่ เพื่อจะแสดงแก่ชนเหล่าอื่นเอง. ในหมวดสองแห่งบทนี้ว่า
อภิธมฺเม อภิเวนเย บัณฑิตพึงทราบหมวดสี่แห่งคำว่า ธมฺโม อภิธมฺโม
วินโย อภิวินโย
ดังนี้ . บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่
พระสุตตันปิฎก. บทว่า อภิธมฺโม ได้แก่ สัตตัปปกรณ์ (ปกรณ์ 7).
บทว่า วินโย ได้แก่ อุภโตวิภังค์. บทว่า อภิวินโย ได้แก่ ขันธก-
บริวาร. อีกอย่างหนึ่ง แม้พระสุตตันตปิฎก คือพระธรรมนั่นเอง
มรรคและผลทั้งหลาย คือพระอภิธรรม
พระวินัยปิฎกทั้งสิ้น คือพระ-
วินัย การกระทำการเข้าไประงับกิเลส คือ อภิวินัย. บัณฑิตพึงทราบ
อธิบาย ในธรรม อภิธรรม วินัย และอภิวินัย นี้แม้ทั้งหมดด้วยประการ
ฉะนี้. บทว่า อุฬารปาโมชฺโช ความว่า เป็นผู้มีความปราโมทย์มาก.
กุสเลสุ ธมฺเมสุ ความว่า สัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ.
เพราะเหตุแห่งกุศลธรรมอันเป็นไปในภูมิ 4. อธิบายว่า เป็นผู้ไม่ทอด
ธุระ เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุกุศลธรรมอันเป็นไปในภูมิ 4 เหล่านั้น.

บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในหมวดสิบแห่งกสิณดังต่อไปนี้. โดยอรรถ
ทั้งสิ้น กสิณทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นแดน ด้วยอรรถว่า เป็นเขต หรือด้วย
อรรถว่า การตั้งใจมั่น แห่งธรรมทั้งหลายอันเป็นตทารมณ์. บทว่า อุทฺธํ
ความว่า ผู้มีหน้าเฉพาะต่อพื้นท้องฟ้าในเบื้องบน. บทว่า อโธ ความว่า
ผู้มีหน้าเฉพาะต่อพื้นแผ่นดินเบื้องต่ำ. บทว่า ติริยํ ความว่า กำหนดตัด
โดยรอบเหมือนมณฑลแห่งนา. จริงอยู่ บุคคลบางคน ย่อมขยายกสิณไป
เบื้องบนอย่างเดียว บางคนขยายไปเบื้องล่าง บางคนขยายไปโดยรอบ.
บุคคลผู้ใคร่ในการเห็นรูป ประดุจเหมือนแสงสว่าง ย่อมแผ่ออกไปอย่างนั้น
หรือโดยเหตุนั้นนั้น. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า ผู้หนึ่ง ย่อมจำปฐวี-
กสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง. ส่วนคำว่า อนฺวยํ นี้ ท่าน
กล่าวไว้เพื่อการเข้าถึงความเป็นอย่างอื่น แห่งบุคคลผู้หนึ่ง. เหมือนอย่างว่า
เมื่อบุคคลดำลงน่า น้ำเท่านั้น ย่อมปรากฏมีในทิศทั้งปวง สิ่งอื่นหามีไม่
ฉันใด ปฐวีกสิณก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นปฐวิกสิณอยู่นั่นเอง ความ
เจือด้วยกสิณอย่างอื่นของผู้นั้นย่อมไม่มี. ในกสิณทั้งปวงก็นัยนี้. คำว่า
อปฺปมาณํ นี้ ท่านกล่าวไว้ ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปไม่มี ประมาณแห่ง
บุคคลนั้น ๆ. จริงอยู่บุคคลเมื่อแผ่กสิณนั้นไปด้วยใจ ชื่อว่า แผ่ไปทั้งสิ้น
ทีเดียว คือไม่ถือเอาประมาณว่า นี้เป็นเบื้องต้น นี้เป็นท่ามกลางแห่ง
กสิณนั้น ดังนี้แล. ก็ในคำว่า วิญฺญาณกสิณํ นี้ได้แก่ วิญญาณที่เป็นไปใน
กสิณุคฆาติมากาศ (อากาศที่เพิกกสิณ). บัณฑิตพึงทราบความเป็นเบื้อง
บน เบื้องล่าง และเบื้องขวาง ในวิญญาณที่เป็นไปในกสิณนั้นด้วยสามารถ
แห่งกสิณุคฆาติมากาศด้วยอำนาจแห่งกสิณในวิญญาณนั้น. นี้เป็นความย่อ
ในกสิณนี้. ก็แล กสิณทั้งหลายมีปฐวีกสิณเป็นต้นเหล่านั้น อันข้าพเจ้า

กล่าวไว้แล้ว โดยพิสดาร ในวิสุทธิมรรคนั่นแล โดยภาวนามัย แห่ง
กัมมัฏฐาน.
พึงทราบวินิจฉัยในกรรมบถทั้งหลายดังต่อไปนี้ . กรรมทั้งหลายนั่น
เอง ชื่อว่าเป็นกรรมบถ เพราะความเป็นทางแห่งทุคคติ และสุคติทั้งหลาย.
บรรดากรรมบถเหล่านั้น กรรมบถทั้ง 4 มีปาณาติบาต อทินนาทาน และ
มุสาวาท เป็นต้น ท่านให้พิสดารแล้วในพรหมชาลสูตรนั่นแล. ส่วนใน
กรรมบถข้อว่า กาเมสุ มิจฺฉาจาโร นี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า กาเมสุ ความว่า ในความประพฤติเมถุน หรือในวัตถุแห่งเมถุน
บทว่า มิจฺฉาจาโร ความว่า ความประพฤติอันลามก ที่บัณฑิตติเตียนโดย
ส่วนเดียว. ส่วนโดยลักษณะ เจตนาที่ก้าวล่วงฐานะ อันไม่พึงถึง ที่เป็นไป
ทางกายทวาร โดยความประสงค์จะเสพอสัทธรรม ก็จัดเป็นกาเมสุมิจฉาจาร-
ในกาเมสุมิจฉาจารนั้น สำหรับบุรุษทั้งหลายก่อน หญิง 10 จำพวก มีหญิง
อันมารดารักษาเป็นต้น คือ หญิงอันมารดารักษา 1 หญิงอันบิดารักษา 1
หญิงอันมารดาและบิดารักษา 1 หญิงอันพี่น้องชายรักษา 1 หญิงอันพี่น้อง
หญิงรักษา 1 หญิงอันญาติรักษา 1 หญิงอันโคตรรักษา 1 หญิงอันธรรม
รักษา 1 หญิงที่มีการอารักขา 1 หญิงที่มีอาชญา 1 และหญิง อีก 10 จำพวก
มีหญิงที่ซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นต้น เหล่านั้น คือ หญิงที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ 1
หญิงที่อยู่ด้วยความพอใจ 1 หญิงที่อยู่ด้วยโภคะ 1 หญิงที่อยู่ด้วยแผ่นผ้า 1
หญิงผู้มีถังน้ำ (ตักน้ำ) 1 หญิงผู้มีเทริดนำไป 1 ภริยาผู้เป็นทาสี 1 ภริยาผู้
ทำงาน 1 หญิงผู้นำมาด้วยธง 1 หญิงผู้อยู่ชั่วครู่ 1 รวมเป็นหญิง 20 จำพวก
ชื่อว่า ฐานอันไม่พึงถึง. ส่วนบรรดาหญิงทั้งหลาย บุรุษเหล่าอื่น ชื่อว่า

เป็นฐานะอันไม่พึงถึงแห่งหญิง 12 จำพวก คือ หญิงที่มีการอารักขาและ
มีอาชญา 2 และหญิงที่ซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นต้นอีก 10. ก็มิจฉาจารนี้นั้น
จัดว่ามีโทษน้อยในฐานะอันไม่พึงถึง ที่เว้นจากคุณมีศีลเป็นต้น จัดว่ามีโทษ
มาก ในฐานะอันไม่พึงถึง ที่ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น. กาเมสุมิจฉาจาร
นั้นมีสัมภาระ ( องค์ ) 4 คือ วัตถุอันไม่พึงถึง 1 จิตคิดจะเสพในวัตถุอันไม่
พึงถึงนั้น 1 ความพยายามในการเสพ 1 การหยุดอยู่แห่งการปฏิบัติต่อองค์
มรรคด้วยมรรค 1. การกระทำด้วยมือของตนก็เป็นความพยายามอย่างหนึ่ง
นั่นแล.
บทว่า อภิชฺฌายติ แปลว่า การเพ่ง. อธิบายว่า เป็นผู้มีหน้า
เฉพาะต่อภัณฑะของผู้อื่นเป็นไป เพราะความที่น้อมไปในภัณฑะของผู้อื่น
นั้น. อภิชฌา นั้น มีการเพ่งต่อภัณฑะของผู้อื่นเป็นลักษณะอย่างนี้ว่า
โอ หนอ วัตถุนี้พึงเป็นของเรา มีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนอทินนา.
ทาน. อภิชฌานั้น สัมภาระ ( องค์) 2 คือ ภัณฑะของผู้อื่น 1 น้อมภัณฑะ
นั้นไปเพื่อตน 1. ก็ครั้นเมื่อความโลภอันมีภัณฑะของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง แม้
บังเกิดขึ้นแล้ว บุคคลไม่น้อมภัณฑะนั้นไปเพื่อตนว่า โอหนอ วัตถุนี้
พึงเป็นของเรา ดังนี้ เพียงใด ความแตกแห่งกรรมบถ ก็ไม่มีเพียงนั้น.
กิเลสใด ยังหิตสุขให้ย่อยยับไป เหตุนั้น กิเลสนั้นชื่อว่า พยาบาท.
พยาบาทนั้น มีลักษณะประทุษร้ายทางใจ เพื่อความพินาศของผู้อื่น มีโทษ
น้อยและมีโทษมากเหมือนผรุสวาจา. พยาบาทนั้นมีสัมภาระ (องค์) 2 คือ
สัตว์อื่น 1 การคิดเพื่อความพินาศแห่งสัตว์อื่นนั้น 1. ก็ครั้นเมื่อความ
โกรธอันมีสัตว์อื่นเป็นที่ตั้ง แม้บังเกิดขึ้นแล้ว บุคคลไม่คิดถึงความพินาศ

แห่งสัตว์อื่นนั้นว่า โอ หนอ บุคคลนี้ พึงขาดสูญ พึงพินาศ ดังนี้ เพียงใด
ความแตกแห่งกรรมบถก็ไม่มีเพียงนั้น. ที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า
เห็นผิด โดยไม่มีการถือเอาตามสภาพที่เป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้น มีลักษณะ
เห็นผิด โดยนัยเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ดังนี้ มีโทษน้อย
และมีโทษมาก เหมือนสัมผัปปลาปะ. อีกอย่างหนึ่ง มิจฉาทิฏฐิ ที่ไม่แน่
นอน (ไม่มั่นคง) มีโทษน้อย ที่แน่นอน (มั่นคง) มีโทษมาก. มิจฉาทิฏฐิ
นั้นมีสัมภาระ (องค์) 2 คือ ความที่วัตถุผิดจากอาการที่ตนถือเอา 1
การบำเรอวัตถุนั้นโดยความเป็นเหมือนอย่างที่ตนถือเอา 1. ส่วนอกุศล
กรรมบถ 10 ประการเหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย โดยอาการ 5 คือ
โดยธรรม 1 โดยส่วน 1 โดยอารมณ์ 1 โดยเวทนา 1 โดยมูล 1.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต ความว่า เจตนาธรรม 7
โดยลำดับเทียว ย่อมมีในอกุศลกรรมบถเหล่านั้น. เจตนาธรรม 3 มี
อภิชฌาเป็นต้น ชื่อว่า สัมปยุตด้วยเจตนา. บทว่า โกฏฺฐาสโต ความว่า
เจตนาธรรม 8 เหล่านี้ คือ โดยลำดับ 1 และมิจฉาทิฏฐิอีก 7 เป็น
กรรมบถแท้ทีเดียว แต่ไม่เป็นมูล. อภิชฌาและพยาบาท เป็นทั้งกรรมบถ
และเป็นทั้งมูล. จริงอยู่ อภิชฌา ถึงความเป็นมูลแล้ว ย่อมเป็นโลภะ
อกุศลมูล. พยาบาทเป็นโทสะอกุศลมูล. บทว่า อารมฺมณโต ความว่า
ปาณาติบาต มีสังขารเป็นอารมณ์ โดยมีชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์. อทินนา-
ทาน มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง. มิจฉาจารมีสังขาร
เป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งโผฏฐัพพะ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัตว์
เป็นอารมณ์บ้าง. มุสาวาท มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง
ปิสุณวาจาก็อย่างนั้น. ผรุสวาจามีสัตว์เป็นอารมณ์. สัมผัปปลาปะ มีสัตว์

เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยสามารถแห่งรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ฟังและอารมณ์ที่ได้ทราบแล้วรู้แจ้งแล้ว. อภิชฌาก็อย่างนั้น.
พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์. มิจฉาทิฏฐิ มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยสามารถ
แห่งธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 บ้าง มีสัตว์เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่ง
บัญญัติบ้าง. บทว่า เวทนาโต ความว่าปาณาติบาต เป็นทุกขเวทนา.
เหมือนอย่างว่า พระราชาทั้งหลาย ทรงเห็นโจรแล้ว แม้จะทรงร่าเริงอยู่
ตรัสว่า พวกท่านจงไปฆ่าโจรนั้น ดังนี้ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สันนิฏฐาปก-
เจตนา ( เจตนาที่ให้สำเร็จ ) ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยทุกข์แท้. อทินนาทาน
มีเวทนา 3. มิจฉาจาร มีเวทนา 2 คือ สุข และมัชฌัตตเวทนา (อุเขกขา)
ส่วนว่า ในสันนิฏฐาปกจิต (จิตที่ให้สำเร็จ) มิจฉาจาร ไม่เป็นมัชฌัตต
เวทนา. มุสาวาท มีเวทนา 3. ปิสุณวาจาก็อย่างนั้น. ผรุสวาจา เป็น
ทุกขเวทนา. สัมผัปปลาปะ มีเวทนา 3. อภิชฌามีเวทนา 2 คือ สุข
และมัชฌัตตเวทนา ( อุเบกขา ). มิจฉาทิฏฐิก็อย่างนั้น. พยาบาทเป็นทุกข-
เวทนา. บทว่า มูลโต ความว่า ปาณาติบาต มีมูล 2 คือ โทสะ และโมหะ.
อทินนาทานก็มีมูล 2 เหมือนกัน คือโทสะและโมหะบ้าง โลภะและโมหะ
บ้าง. มิจฉาจาร มีมูล 2 คือ โลภะและโมหะ. มุสาวาท ก็มีมูล 2 คือ
โทสะและโมหะบ้าง โลภะและโมหะบ้าง. ปิสุณวาจา และสัมผัปปลาปะ
ก็อย่างนั้น. ผรุสวาจามีมูล 2 คือ โทสะและโมหะ. อภิชฌามีมูลเดียว
คือโมหะ. พยาบาทก็อย่างนั้น. มิจฉาทิฏฐิมีมูล 2 คือ โลภะและโมหะ
ดังนี้แล.
กุศลกรรมบถทั้งหลายมีเจตนางดเว้น จากปาณาติบาตเป็นต้น
บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งสมาทานวิรัติ สัมปัตตวิรัติ. และสมุจเฉท-

วิรัติ ส่วนโดยธรรม เจตนาทั้ง 7 ก็ดี วิรัติทั้งหลายก็ดี ย่อมเป็นไปโดยลำดับ
ในกุศลกรรมบถ แม้เหล่านั้น. เจตนาธรรม 3 ในที่สุด ชื่อว่าสัมปยุตด้วย
เจตนาแท้. บทว่าโกฏฺฐาสโต ความว่า เจตนาธรรม 7 โดยลำดับชื่อว่า
เป็นกรรมบถแท้ทีเดียว แต่ไม่มีมูล. เจตนาธรรม 3 ในที่สุด เป็นทั้งกรรมบถ
และเป็นมูล. จริงอยู่ อนภิชฌา ถึงความเป็นมูลแล้ว ย่อมเป็นอโลภะ
กุศลมูล. อัพยาบาท เป็นอโทสะกุศลมูล. สัมมาทิฏฐิเป็นอโมหะกุศลมูล.
บทว่า อารมฺมณโต ความว่า อารมณ์ แห่งปาณาติบาตเป็นต้นนั่นเทียว แม้
เป็นอารมณ์แห่ง กุศลกรรมบถเหล่านั้น โดยลำดับ. จริงอยู่ เจตนานั้น ชื่อว่า
เป็นเจตนางดเว้น เพราะความเป็นสภาพอันจะพึงก้าวล่วง. ก็อริยมรรคอันมี
พระนิพพานเป็นอารมณ์ ย่อมละกิเลสทั้งหลายได้ฉันใด กรรมบถทั้งหลาย
เหล่านั้น แม้มีชีวิตนทรีย์เป็นต้นเป็นอารมณ์ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมละ
ความเป็นผู้ทุศีลทั้งหลาย มีปาณาติบาตเป็นต้นฉันนั้น. บทว่า เวทนาโต
ความว่า กุศลกรรมบถทั้งปวง เป็นสุขเวทนาบ้าง เป็นมัชฌัตตเวทนา
(อุเบกขาเวทนา) บ้าง. จริงอยู่ ธรรมดาว่าทุกขเวทนา ถึงความเป็นกุศล
ไม่มี. ว่าโดยมูล กุศลกรรมบถ 7 โดยลำดับ ย่อมมีมูล 3 คือ อโลภะ อโทสะ
และอโมหะ แก่บุคคลผู้เว้นด้วยญาณสัมปยุตตจิต. ย่อมมีมูล 2 แก่บุคคลผู้
เว้นด้วยญาณวิปปยุตตจิต. อนภิชฌา มีมูลสอง สำหรับผู้เว้นด้วย
ญาณสัมปายุตตจิต มีมูลหนึ่งแก่บุคคลผู้เว้นด้วยญาณวิปปยุตตจิต. ก็
อโลภะไม่เป็นมูลแก่ตนด้วยตนเลย. แม้ในอัพยาบาทก็นัยนี้เหมือนกัน.
สัมมาทิฏฐิ มีมูล 2 คือ อโลภะ และอโทสะเท่านั้น ดังนี้แล.
บทว่า อริยวาสา ความว่า พระอริยะทั้งหลายนั่นเทียว อยู่แล้ว
คือ ย่อมอยู่ ได้แก่ จักอยู่ในธรรมเหล่านั้น เหตุนั้น ธรรม เหล่านั้นชื่อว่า
อริยวาส. บทว่า ปญฺจงฺควิปฺปหีโน ความว่า เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยองค์

ห้า พระขีณาสพ ได้อยู่แล้ว คือย่อมอยู่ ได้แก่จักอยู่ เพราะเหตุดังนี้นั้น
ความเป็นผู้ละองค์ห้าเสียได้นี้ ท่านเรียกว่า อริยวาส เพราะความเป็นธรรม
เครื่องอยู่ของพระอริยะ. ในธรรมทั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน. ดูก่อนท่านผู้มี
อายุภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก อย่างนี้แล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็น
ผู้ประกอบด้วยฉฬังคุเบกขา. ถามว่า ธรรม เหล่าไร ชื่อว่า ฉฬังคุเบกขา.
แม้ว่าธรรมมีญาณเป็นต้น ชื่อว่า ฉฬังคุเบกขา. เมื่อท่านกล่าวว่า ญาณ
บัณฑิตย่อมได้ ญาณสัมปยุตตจิต 4 ดวง โดยกิริยา. เมื่อท่านกล่าวว่า
สตตวิหาร ย่อมได้ มหาจิต 8 ดวง. เมื่อ ท่านกล่าวว่า รชฺชนทุสฺสนํ นตฺถิ
ย่อมได้จิต 10 ดวง. โสมนัส บัณฑิตย่อมได้ด้วยสามารถแห่งอาเสวนะ.
สองบทว่า สตารกฺเขน เจตสา ความว่า ก็สติย่อมยังกิจแห่งการรักษาให้
สำเร็จ ตลอดกาลทั้งปวง ในทวารทั้ง 3 ของพระขีณาสพ. เพราะเหตุนั้น
นั่นแหละ ญาณทัสสนะ อันสงบระงับ แล้วติดต่อกัน ท่านจึงเรียกว่า
เป็นญาณอันปรากฏเฉพาะแล้ว แก่พระขีณาสพนั้น ผู้เที่ยวไปอยู่ ผู้ยืน
อยู่ ผู้หลับ และผู้ตื่น.
บทว่า ปุถุสมณพฺราหิมณานํ ความว่า แห่งสมณพราหมณ์มาก.
ก็บรรดาคำเหล่านั้น ที่ชื่อว่า สมณะ. ได้แก่ผู้เข้าถึงการบรรพชา. ที่ชื่อว่า
พราหมณ์ ได้แก่ ผู้มีปกติกล่าวว่า เจริญ. บทว่า ปุถุปจฺเจกสจฺจานิ
ความว่า สัจจะเฉพาะตัวมาก อธิบายว่า สัจจะ เป็นอันมากที่ท่านถือเอา
เฉพาะอย่างนี้ว่า นี้เท่านั้นจริง. บทว่า นุณฺณานิ ความว่า ถูกนำออก.
บทว่า ปนุณฺณานิ ความว่า ถูกนำออกด้วยดี. บทว่า จตฺตานิ ความว่า
ปล่อยแล้ว. บทว่า วนฺตานิ ความว่า คายเเล้ว. บทว่า มุตฺตานิ ความว่า
กระทำการตัดเครื่องผูก. บทว่า ปหีนานิ ความว่า ละแล้ว. บทว่า

ปฏินิสฺสฏฺฐานิ ความว่า สละเฉพาะโดยประการที่กิเลสจะไม่ขึ้นสู่จิตอีก.
คำเหล่านั้นทั้งปวงนั่นแล เป็นไวพจน์แห่งความสละการยึดถืออันตนยึดถือ
อยู่แล้ว. บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สมวยสฏฺเฐสโน นี้ดังต่อไปนี้
บทว่า อวยา ได้แก่ ไม่ขาดแคลน บทว่า สฏฺฐา ได้แก่ สละแล้ว
บุคคลนี้มีการแสวงหา อันไม่ขาดแคลน คือสละแล้วโดยชอบ เพราะเหตุนี้
จึงชื่อว่า ผู้มีการแสวงหาอันไม่ขาดแคลนและสละแล้วเสมอ. อธิบายว่า
ผู้มีการแสวงหาทั้งปวงอันสละแล้วโดยชอบ. ด้วยคำเป็นต้นว่า จิตหลุดพ้น
แล้วจากราคะ เป็นอันกล่าวความสำเร็จแห่งกิจของมรรค. ด้วยคำเป็นต้น
ว่า เราละราคะได้แล้ว เป็นอันกล่าวผลของการพิจารณา. พระอเสขะ
ชื่อว่า มีธรรมอันสัมปยุตด้วยผลแม้ทั้งปวง มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. ก็ใน
บรรดาธรรมเหล่านั้น ปัญญาเทียว เป็นอันท่านกล่าวไว้ ในฐานะทั้ง 2 คือ
สัมมาทิฏฐิ 1 สัมมาญาณ 1. ธรรม คือผลสมาบัติ ที่เหลือ ท่านกล่าวไว้
ด้วยบทนี้ว่า สัมมาวิมุตติ บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านสงเคราะห์เข้าแล้ว.
คำว่า อิเม โข อาวุโส เป็นต้น บัณฑิตพึงประกอบโดยนัย ดังที่กล่าว
แล้วนั่นแล. พระเถระเมื่อกล่าวปัญหา 60 ถ้วน ด้วยสามารถแห่งหมวด
สิบ 6 หมวด ด้วยประการฉะนี้ แสดงสามัคคีรสแล้วดังนี้แล.
จบหมวด 10
ก็ภิกษุดำรงในศาสนานี้แล้ว พึงประชุมปัญหาดังต่อไปนี้. จริงอยู่
ในพระสูตรนี้ เป็นอันท่านกล่าว 2 ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดหนึ่งๆ
กล่าว 70 ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดสอง กล่าว 180 ปัญหา ด้วย
สามารถแห่งหมวดสาม 200 ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดสี่ กล่าว
130 ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดห้า กล่าว 132 ปัญหา ด้วยสามารถ

แห่งหมวดหก กล่าว 98 ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด กล่าว 88
ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดแปด กล่าว 54 ปัญหา ด้วยสามารถแห่ง
หมวดเก้า กล่าว 60 ปัญหาถ้วน ด้วยสามารถแห่งหมวดสิบ รวมเป็น
อันท่านกล่าวปัญหาไว้ 1,014 ปัญหา ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ เว้น
พระสูตรนี้เสีย พระสูตรอื่นในพระพุทธวจนะคือ พระไตรปิฏก อันประดับ
ด้วยปัญญามากอย่างนี้ไม่มี. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับพระสูตรนี้ทั้งหมด
ตั้งแต่ต้นแล้ว ดำริว่า พระสารีบุตรผู้เป็นธรรมเสนาบดี แสวงกำลังแห่ง
พระพุทธเจ้า บรรลือสีหนาท ในอัปปฏิวัตกาล เมื่อเรากล่าวว่า เป็นสาวก
ภาษิต ความปลงใจเชื่อก็จะไม่มี ครั้นเมื่อเรากล่าวว่า เป็นชินภาษิต ดังนี้
ความปลงใจเชื่อจึงจะมี เพราะเหตุนั้น เรากระทำให้เป็นชินภาษิตแล้ว
ดังความปลงใจเธอให้เกิดแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายในพระสูตรนี้
ดังนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากที่นั้นได้ประทานสาธุการแล้ว. เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้น ตรัสเรียก
ท่านพระสารีบุตรมาว่า สารีบุตร ดีละ ดีนักแล สารีบุตร เธอได้กล่าว
สังคีติปริยายสูตรแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
สงฺคีติปริยายํ ได้แก่ เหตุแห่งความสามัคคี. มีคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ดังนี้ว่า สารีบุตร ดีนักแล เธอเทียบเคียงด้วยสัพพัญญุตญาณของเรา
ได้กล่าวสามัคคีรสแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว. หลายบทว่า สมนุญฺโญ สตฺถา
อโหสิ
ความว่า ได้เป็นผู้พอใจด้วยการอนุโมทนาแล้ว. พระสูตรนี้ชื่อว่า
ชินภาษิต เกิดแล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้. ในกาลเป็นที่สิ้นสุดแห่งพระ
เทศนา ภิกษุเหล่านั้น กระทำไว้ในใจซึ่งพระสูตรนี้ บรรลุพระอรหัตต์แล้ว
ดังนี้แล.
จบอรรถกถาสังคีติสูตรที่ 10

11. ทสุตตรสูตร



เรื่อง พระสารีบุตรเถระ



ว่าด้วยธรรมหมวด 1



[364] ข้าพเจ้า สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ
500 รูป ประทับอยู่ที่ฝั่งสระโปกขรณี ชื่อ คัดครา ใกล้เมืองจำปา. ณ ที่นั้น
ท่านพระสารบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมา ภิกษุเหล่านั้น รับคำของท่าน
พระสารีบุตรแล้ว. ท่านพระสารีบุตร กล่าวว่า
[365] เราจักกล่าวทสุตตรสูตร อันเป็นธรรมเพื่อ
ปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง เพื่อ
บรรลุถึงพระนิพพาน เพื่อทำที่สุดทุกข์.

[366] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง มีอุปการะมาก
ธรรมอย่างหนึ่ง ควรเจริญ ธรรมอย่างหนึ่ง ควรกำหนดรู้ ธรรมอย่างหนึ่ง
ควรละ ธรรมอย่างหนึ่ง เป็นไปในส่วนเสื่อม ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไปใน
ส่วนวิเศษ ธรรมอย่างหนึ่ง แทงตลอดได้ยาก ธรรมอย่างหนึ่ง ควรให้
เกิดขึ้น ควรรู้ยิ่ง ธรรมอย่างหนึ่ง ควรทำให้แจ้ง.
[367] ธรรมอย่างหนึ่ง มีอุปการะมาก เป็นไฉน. คือความ
ไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง มีอุปการะมาก.